เมนู

2. เอกจักขุบุคคล บุคคลผู้มีตาข้างเดียว เป็นไฉน ?
บุคคลพึงได้โภคะที่ตนยังไม่ได้ หรือพึงกระทำโภคะที่ตนได้แล้วให้
เจริญ ด้วยจักษุเช่นใด จักษุเช่นนั้นย่อมมีแก่บุคคลบางคนในโลกนี้ บุคคล
พึงรู้ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศลและอกุศล รู้ธรรมทั้งหลายที่มีโทษและไม่มีโทษ
รู้ธรรมทั้งหลายที่เลวและประณีต รู้ธรรมทั้งหลายที่มีส่วนเปรียบโดยเป็นธรรม
ดำและธรรมขาว ด้วยจักษุเช่นใด แม้จักษุเช่นนั้น ก็ย่อมไม่มีแก่บุคคลเช่น
นั้น บุคคลนี้เรียกว่า คนมีตาข้างเดียว.

3. ทวิจักขุบุคคล บุคคลผู้มีตาสองข้าง เป็นไฉน ?
บุคคลพึงได้โภคะที่ตนยังไม่ได้ หรือพึงกระทำโภคะที่ตนได้แล้วให้
เจริญ ด้วยจักษุเช่นใด จักษุเช่นนั้น ย่อมมีแก่บุคคลบางคนในโลกนี้ บุคคล
พึงรู้ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศลและอกุศล รู้ธรรมทั้งหลายที่มีโทษและไม่มีโทษ
รู้ธรรมทั้งหลายที่เลวและประณีต รู้ธรรมทั้งหลายที่มีส่วนเปรียบโดยเป็นธรรมดำ
และธรรมขาว ด้วยจักษุเช่นใด แม้จักษุเช่นนั้นก็ย่อมมีแก่บุคคลนั้น บุคคลนี้
เรียกว่า คนมีตาสองข้าง.

อรรถกถาอันธบุคคลคือบุคคลผู้บอดเป็นต้น


ข้อว่า "ตถารูปํ จกฺขุํ น โหติ" ความว่า จักษุ คือ ปัญญาที่มี
ชาติอย่างนั้น มีสภาวะอย่างนั้น ย่อมไม่มีแก่เขา.
สองบทว่า "ผาตึ กเรยฺย" ได้แก่ พึงกระทำการเผยแผ่ คือ ทำให้
เจริญ.

บทว่า "สาวชฺชานวชฺเช" ได้แก่ ธรรมที่มีโทษ และหาโทษ
มิได้.
บทว่า "หีนปณีเต" ได้แก่ ไม่ยิ่ง และไม่สูงสุด.
บทว่า "กณฺหสุกฺกสปฺปฏิภาเค" ความว่า ธรรมทั้งฝ่ายดำทั้งฝ่าย
ขาวนั่นแหละท่านเรียกว่า สัปปฏิภาค แปลว่า มีส่วนเปรียบ ด้วยสามารถ
แห่งอันปฏิปักษ์ เพราะมีการห้ามซึ่งกันและกัน. ก็ในที่นี้มีข้อสังเขปดังนี้ว่า
บุคคลควรรู้กุศลธรรมทั้งหลายว่าเป็นกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นต้น ด้วยปัญญา
จักษุใด, ควรรู้อกุศลธรรมทั้งหลายว่า เป็นอกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นต้น ด้วย
ปัญญาจักษุนั้น แม้ในธรรมที่มีโทษ เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.
ก็บัณฑิตพึงทราบเนื้อความแม้ในภาวะที่เหลือโดยนัยนี้ว่า บุคคลพึง
ทราบด้วยปัญญาจักษุใดว่า "บรรดาธรรมที่มีส่วนเปรียบด้วยธรรมฝ่ายดำและ
ธรรมฝ่ายขาว สำหรับธรรมฝ่ายดำมีส่วนเปรียบด้วยธรรมฝ่ายขาว สำหรับ
ธรรมฝ่ายขาวก็มีส่วนเปรียบด้วยธรรมฝ่ายดำ" ดังนี้ จักษุ คือ ปัญญา แม้
เห็นปานนี้ย่อมไม่มีแก่เขา.
สองบทว่า "อยํ วุจฺจติ" ความว่า บุคคลนี้ คือ ผู้เห็นปานนี้ท่าน
เรียกว่า อนฺโธ แปลว่า ผู้บอด เพราะไม่มีปัญญาจักษุอันเป็นเครื่องรวบรวม
โภคทรัพย์อันเป็นไปในทิฏฐธัมมิกภพ คือ ภพนี้ และไม่มีปัญญาจักษุอันเป็น
เครื่องยังประโยชน์ให้สำเร็จในสัมปรายิกภพ คือ ภพหน้า. บุคคลจำพวกที่ 2
ท่านเรียกว่า เอกจกฺขุ แปลว่า ผู้มีตาข้างเดียว เพราะมีปัญญาจักษุอันเป็น
เครื่องรวบรวมหาโภคทรัพย์ได้ในภพนี้ แต่ไม่มีปัญญาจักษุอันเป็นเครื่องยัง
ประโยชน์ให้สำเร็จในภพหน้า. บุคคลจำพวกที่ 3 ท่านเรียกว่า ทฺวิจฺกขุ
แปลว่า ผู้มีตาทั้ง 2 ข้าง เพราะมีปัญญาจักษุอันเป็นเครื่องยังประโยชน์ให้
สำเร็จในภพเบื้องหน้า.

[91] 1. อวกุชปัญญบุคคล บุคคลผู้มีปัญญาดังหม้อคว่ำ
เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนโนโลกนี้ ไปสู่อารามเพื่อฟังธรรมในสำนักของภิกษุทั้ง
หลายเนือง ๆ พวกภิกษุย่อมแสดงธรรม งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง
งามในที่สุด พร้อมทั้งอรรถพร้อมทั้งพยัญชนะแก่บุคคลนั้น ย่อมประกาศ
พรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง บุคคลนั้นพึงนั่งแล้วที่อาสนะนั้น ย่อม
ไม่ใส่ใจถึงเบื้องต้นเลย ย่อมไม่ใส่ใจถึงท่ามกลาง ย่อมไม่ใส่ใจถึงที่สุด แม้ลุก
ออกจากอาสนะแล้ว ก็ไม่ใส่ใจถึงเบื้องต้น ไม่ใส่ใจถึงท่ามกลาง ไม่ใส่ใจถึงที่
สุดแห่งกถานั้นเลย เหมือนน้ำที่เขาเทใส่หม้อที่คว่ำไว้ ย่อมไหลไป ย่อมไม่
ขังอยู่ ชื่อแม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ ไปสู่อารามเพื่อฟังธรรมในสำนัก
ของภิกษุทั้งหลายเนือง ๆ พวกภิกษุย่อมแสดงธรรม งามในเบื้องต้น งามใน
ท่ามกลาง งามในที่สุด พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทังพยัญชนะแก่บุคคลนั้น ย่อม
ประกาศพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง บุคคลนั้นนั่งแล้วที่อาสนะนั้น ย่อม
ไม่ใส่ใจถึงเบื้องต้น ย่อมไม่ใส่ใจถึงท่ามกลาง ย่อมไม่ใส่ใจถึงที่สุดแห่งกถานั้น
เลย แม้ลุกจากอาสนะนั้นแล้ว ก็ไม่ใส่ใจถึงเบื้องต้น ไม่ใส่ใจถึงท่ามกลาง ไม่
ใส่ใจถึงที่สุดแห่งกถานั้นเลย ก็ฉันนั้น บุคคลนี้เรียกว่า มีปัญญาดังหม้อคว่ำ

2. อุจจังคปัญญบุคคล บุคคลผู้มีปัญญาดังหน้าตัก
เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ ไปสู่อารามเพื่อฟังธรรมในสำนักของภิกษุ
ทั้งหลายเนือง ๆ พวกภิกษุย่อมแสดงธรรม งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง
งามในที่สุด พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะแก่บุคคลนั้น ย่อมประกาศ
พรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง บุคคลนั้นนั่งแล้วที่อาสนะนั้น ย่อมใส่ใจ
ถึงท่ามกลางบ้าง ย่อมใส่ใจถึงที่สุดบ้าง แต่ลุกจากอาสนะนั้นแล้ว ไม่ใส่ใจถึง

เบื้องต้น ไม่ใส่ใจถึงท่ามกลาง ไม่ใส่ใจถึงที่สุดแห่งกถานั้นเลย เหมือนของ
เคี้ยวนานาชนิด เช่น งา ข้าวสาร ขนมต้ม พุทรา วางเรียงรายอยู่แล้ว แม้
บนตักของบุรุษ เมื่อเขาเผลอตัวลุกจากอาสนะ พึงกระจัดกระจายไป ชื่อแม้
ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ ไปสู่อารามเพื่อฟังธรรมในสำนักของภิกษุทั้ง
หลายเนือง ๆ ภิกษุทั้งหลาย ย่อมแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง
งามในที่สุด พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ แก่บุคคลนั้น ย่อมประกาศ
พรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง บุคคลนั้นนั่งแล้วที่อาสนะนั้น ย่อมใส่ใจ
ถึงเบื้องต้นบ้าง ฯลฯ ย่อมใส่ใจถึงที่สุดบ้าง แห่งกถานั้น แต่ลุกออกจาก
อาสนะนั้นแล้ว ย่อมไม่ใส่ใจถึงเบื้องต้น ย่อมไม่ใส่ใจถึงท่ามกลาง ย่อมไม่ใส่
ใจถึงที่สุดแห่งกถานั้นเลย ก็ฉันนั้น บุคคลนี้เรียกว่า มีปัญญาดังหน้าตัก.
3. ปุถุปัญญบุคคล บุคคลผู้มีปัญญามาก เป็นไฉน ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ไปสู่อารามเพื่อฟังธรรมในสำนักของภิกษุทั้ง
หลายเนือง ๆ พวกภิกษุย่อมแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งาม
ในที่สุด พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ แก่บุคคลนั้น ย่อมประกาศ
พรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง บุคคลนั้นนั่งแล้วที่อาสนะนั้น ย่อมใส่ใจ
ถึงเบื้องต้นบ้าง ย่อมใส่ใจถึงท่ามกลางบ้าง ย่อมใส่ใจถึงที่สุดบ้าง แม้ลุกออก
จากอาสนะนั้นแล้ว ก็ย่อมใส่ใจถึงเบื้องต้นบ้าง ย่อมใส่ใจถึงท่ามกลางบ้าง
ย่อมใส่ใจถึงที่สุดแห่งกถานั้น เหมือนน้ำที่เขาเทใส่หม้อที่หงายไว้ ย่อมขังอยู่
ย่อมไม่ไหลไป ชื่อแม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ ไปสู่อารามเพื่อฟังธรรม
ในสำนักของภิกษุทั้งหลายเนือง ๆ พวกภิกษุย่อมแสดงธรรม งามในเบื้องต้น
งามในท่ามกลาง งามในที่สุด พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ แก่บุคคลนั้น

ย่อมประกาศพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง เขานั่งที่อาสนะนั้นแล้ว ย่อม
ใส่ใจถึงเบื้องต้นบ้าง ย่อมใส่ใจถึงท่ามกลางบ้าง ย่อมใส่ใจถึงที่สุดแห่งกถานั้น
แม้ลุกออกจากอาสนะนั้นแล้ว ก็ย่อมใส่ใจถึงเบื้องต้นบ้าง ย่อมใส่ใจถึงท่าม
กลางบ้าง ย่อมใส่ใจถึงที่สุดบ้างแห่งกถานั้น บุคคลนี้เรียกว่า คนมีปัญญามาก.

อรรถกถาบุคคลผู้มีปัญญาเพียงดังหม้อคว่ำ เป็นต้น


สองบทว่า "ธมฺมํ เทเสนฺติ" ความว่า ภิกษุทั้งหลายละการงาน
ของตนแล้วแสดงธรรมด้วยการคิดว่า "อุบาสกมาเพื่อต้องการฟังธรรม"
บทว่า "อาทิกลฺยาณํ" ความว่า ย่อมแสดงธรรมให้งาม ให้เจริญ
คือ ให้ไม่มีโทษ คือ ปราศจากโทษในเบื้องต้น แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้
เหมือนกัน. ก็ในคำว่า "อาทิ" นี้ได้แก่เป็นคำเริ่มต้นครั้งแรก.
บทว่า "มชฺฌํ" ได้แก่ เป็นการกล่าวในท่ามกลาง.
บทว่า "ปริโยสานํ" ได้แก่ เป็นคำสุดท้าย. ภิกษุทั้งหลายเมื่อ
แสดงธรรมแก่เรา ย่อมแสดงธรรมให้งาม ให้เจริญ ให้ไม่มีโทษนั่นเทียว
ทั้งในคำที่เริ่มต้นครั้งแรก ทั้งในคำที่มีในท่ามกลาง ทั้งในคำที่กล่าวไว้ในที่สุด
อนึ่ง ในที่นี้ ความงามแห่งพระธรรมเทศนา อันเป็นเบื้องต้น ท่ามกลาง และ
ที่สุดมีอยู่ และความงามทั้ง 3 อย่างนั้นแห่งศาสนาก็มีอยู่. ในบรรดาความงาม
แห่งเทศนา และความงามแห่งพระศาสนานั้น พึงทราบความงามแห่งเทศนา
ก่อน คือ
พระคาถา 4 บทแห่งเทศนา บทแรกเรียกว่า เป็นความงามใน
เบื้องต้น สองบทต่อมาเรียกว่า เป็นความงามในท่ามกลาง บทสุดท้ายเรียกว่า
เป็นความงามในที่สุด. สำหรับพระสูตรที่มีเรื่องเดียว นิทานเป็นความงามใน
เบื้องต้น อนุสนธิ คือ การสืบต่อ เป็นความงามในท่ามกลาง วาจาที่กล่าว